Services

บริการครบวงจรเกี่ยวกับ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า


บริการติดตั้ง Wallbox EV CHARGER

  • เขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ค่าบริการเริ่มต้นแบบ Single Phase ที่ 12,000 บาท และ Three Phase ที่ 16,500 บาท (รวมค่าอุปกรณ์ตามมาตรฐานของบริษัท)

หมายเหตุ: อุปกรณ์มาตรฐานประกอบด้วย

  • สายไฟระยะไม่เกิน 15 เมตร
  • MCB 40A 1P
  • เบรคเกอร์ป้องกันไฟดูด (เฉพาะ EV Charger รุ่นที่ไม่มีเบรคเกอร์กันไฟดูด)
  • กล่องคอนซูเมอร์ขนาด 4 ช่อง
  • อุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
  • Surge Protection อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Option)
สอบถามรายละเอียดการติดตั้งเพิ่มเติมได้ที่ 081 8696229 (มาร์ค), Line Official: @wallbox

 

  • พื้นที่ต่างจังหวัด กรุณาติดต่อร้านค้าตัวแทนจำหน่าย
ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลร้านค้าตัวแทนจำหน่ายได้ที่ 081 8621919 (คุณภัทรพร), Line Official: @wallbox
ร้านค้าที่ต้องการสมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย กรุณากรอกแบบฟอร์มและส่งหลักฐานที่ระบุไว้ในใบสมัครมาที่ sales@wallbox.in.th โทร. 081-8621919

Wallbox Technology รับบริการติดตั้งระบบไฟฟ้ารูปแบบทางเลือก ได้แก่ เดินระบบไฟฟ้าวงจรที่สองของการไฟฟ้านครหลวง (Mea) และ เดินระบบมิเตอร์ลูกที่สองของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (Pea) การเดินระบบไฟฟ้ารูปแบบทางเลือก เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในการติดตั้ง EV Charger กับบ้านพักอาศัยเดิม โดยอนุโลมให้เดินสายเมนวงจรที่ 2 สำหรับจ่ายไฟให้ EV Charger โดยเฉพาะแยกต่างหาก มีเมนเบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RCD) สำหรับ EV Charger และไม่ต้องแก้ไขวงจรไฟฟ้าเดิมที่จ่ายไฟสำหรับโหลดอื่นๆของบ้าน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าได้มาก ซึ่งรูปแบบทางเลือกจะขึ้นอยู่กับพื้นที่การไฟฟ้าฯ ดังนี้

  1. รูปแบบทางเลือกของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เรียกว่า การขอขยายมิเตอร์แบบวงจรที่สอง มีลักษณะ มิเตอร์ไฟฟ้า 1 ลูก และสายเมน 2 วงจร กฟน. อนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช่ไฟฟ้าเดิม โดยการติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้ โดยจะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสม ทั้งนี้กำลังไฟในการใช้งานรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกินขนาดที่มิเตอร์รองรับ

2. รูปแบบทางเลือกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีลักษณะใช้ มิเตอร์ไฟฟ้า 2 ลูกแยกวงจรกัน และสายเมน 2 วงจร กฟภ. อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สอง สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ โดยการเดินสายเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้ง EV Charger โดยตรง โดยมิเตอร์ลูกที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าลูกแรก ปกตินิยมขอใช้ มิเตอร์แบบ TOU (Time of Use) สำหรับการใช้กับ EV Charger เพราะอัตราค่าไฟในช่วง Off Peak จะมีราคาถูกกว่าในการชาร์จไฟฟ้าช่วงกลางคืน สำหรับการเดินระบบสำหรับวงจรทางเลือก จะมีอัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ 12,500 บาท สำหรับการขอขยายมิเตอร์ระบบไฟ Single Phase แบบวงจรที่สองขนาด 30(100) ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ ขอมิเตอร์ลูกที่สองขนาด 15(45) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค **

การเตรียมมิเตอร์ไฟฟ้าให้พร้อมก่อนติด EV Charger และ ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2

ก่อนอื่น แนะนำให้ดูมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านเราก่อนว่าเป็นแบบไหน เหมาะสมที่จะติดตั้ง EV Charger หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานชาร์จรถยนต์ ซึ่งวิธีเช็กก็สามารถดูได้ที่มิเตอร์ที่บ้านเลย โดยค่าที่เราจะดูมี 2 ส่วน ดังนี้

  • แรงดันไฟฟ้า หรือเฟสไฟฟ้าในประเทศไทย จะมีด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรกคือ 1 เฟส ที่รู้จักกันในชื่อ Single Phase หรือ 1 Phase 2 Wire และอีกประเภทคือ 3 เฟส หรือ 3 Phase 4 Wire ซึ่งจะต่างกับ 1 เฟส ตรงที่มีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า ซึ่งการที่จะเลือกใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็ต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าและคุณสมบัติของเครื่องชาร์จที่จะนำมาติดตั้งควบคู่กันไปด้วย
  • ขนาดแอมป์ของมิเตอร์ หลังจากดูเฟสไฟฟ้าแล้วเราก็จะมาดูกันที่ขนาดมิเตอร์ ซึ่งหมายถึงขนาดแอมป์ของมิเตอร์นั่นเอง สำหรับมิเตอร์ตามบ้านโดยทั่วไปจะมีขนาด 5(15)A, 15(45)A หรือ 30(100)A โดยตัวเลขพวกนี้หมายถึงขนาดแอมป์และความสามารถในการรองรับโหลดทางไฟฟ้า เช่น 15(45)A หมายถึง มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 45 แอมป์ เมื่อเรารู้ว่ามิเตอร์ตัวเองเป็นแบบไหนแล้ว ก็สามารถเช็กได้ว่ามิเตอร์ที่มีเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งทางการไฟฟ้าแนะนำขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสมในการติด EV Charger ดังนี้ ไฟ 1 เฟส ให้ใช้มิเตอร์ขนาด 30 แอมป์ หรือ 30(100)A ขึ้นไป หรือ 3 เฟส ให้ใช้มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ 15(45)A ซึ่งหากที่บ้านมีมิเตอร์ขนาดนี้อยู่ ก็สามารถติดตั้งที่ชาร์จรถ EV ได้เลย แต่ถ้าใช้มิเตอร์เล็กกว่านี้อยู่ เช่น 5(15)A แอมป์ หรือ 5 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดอย่างน้อย 15(45)A ต้องติดต่อการไฟฟ้าเพื่อขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้สามารถติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

สำหรับการเพิ่มขนาดมิเตอร์จะต้องมีการปรับปรุงสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ รวมถึงปรับเปลี่ยนเมนเบรกเกอร์และตู้ Consumer Unit ให้เหมาะสมกับการใช้งาน จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อลดภาระและเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความปลอดภัย จึงได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้ง EV charger จาก กฟภ. และ กฟน. มาในรูปแบบทางเลือกต่างๆ ดังนี้

  • กฟภ. อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สองสำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ การเดินสายเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้งโดยตรง โดยมิเตอร์ลูกที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าลูกแรก
  • กฟน. อนุโลมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอติดตั้ง EV Charger เพิ่มจากโหลดการใช้ไฟฟ้าเดิม โดยติดตั้งสายเมนวงจรที่สองสำหรับ EV Charger โดยเฉพาะได้ โดยจะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสม ทั้งนี้กำลังไฟในการใช้งานรวมทั้งหมดทั้งวงจรที่ 1 และ วงจรที่ 2 จะต้องไม่เกินขนาดที่มิเตอร์ใหม่รองรับ

1) ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 คืออะไร?

การเดินระบบไฟฟ้าในรูปแบบที่เรียกว่า “วงจรที่ 2” คือการเดินวงจรใหม่คู่ขนานกับวงจรเดิมดังรูป การเดินแบบนี้มีข้อดีคือไม่ต้องยุ่งกับระบบไฟฟ้าเดิมทำให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการเดินแบบวงจรที่2 จะเป็นการทำระบบไฟฟ้าจากมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านมายังตู้ไฟโรงจอดรถ โดยในตู้ไฟโรงจอดรถต้องมีการติดตั้งเมนเซอกิตเบรกเกอร์แบบ 2 pole พิกัด 40A (เพื่อให้สามารถตัดกระแสของเครื่องชาร์จที่โหลด 32A) รวมถึงติดตั้ง RCD กันดูดและระบบกราวด์ความลึก 2.4 เมตร ทั้งนี้ การเดินระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 จะใช้กับพื้นที่ติดตั้งที่ขึ้นตรงกับการไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ, นนทบุรี และสมุทรปราการ) หากเป็นพื้นที่ในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เราจะใช้วิธีการขอมิเตอร์ใหม่ เรียกว่าการเดินระบบไฟฟ้าสำหรับมิเตอร์ลูกที่สอง

2) ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับ EV Charger มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

การติดตั้ง EV Charger นั้นนอกจากตัวเครื่องแล้ว ผู้ใช้งานยังต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเครื่องและวิธีการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) โดยใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ตู้ควบคุมเมนไฟฟ้า (MDB), อุปกรณ์ควบคุมไฟเกิน(MCB), เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD), หลักดิน (Copper Ground Rod), สายไฟมาตรฐานที่ใช้เดินวงจรเมน ในบทความนี้ได้มีการอธิบายรายละเอียดการใช้งานและการเลือกซื้อของอุปกรณ์โดยละเอียด

2.1 ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)

ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) เป็นตู้ที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น Circuit Breaker ทั้งตัวหลัก(Main Breaker 2 pole) ลูกย่อยแบบ 1 pole และกันดูด RCD โดยตัวตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าต้องมีขนาดช่องที่เพียงพอ และสามารถรองรับการติดตั้งเพิ่มในอนาคตได้ โดยขนาดที่นิยมจะเป็นแบบ 8-10 ช่องสำหรับบ้าน และขนาด 6-8 ช่อง สำหรับวงจร 2 โดยวัสดุของตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าจะมีทั้งแบบเหล็กและพลาสติกไม่ลามไฟ โดยผู้ใช้งานควรจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มาตรฐาน มอก. หรือ IEC

2.2 เซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Breaker) คือสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ใช้ในการป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า ในการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เบรกเกอร์ที่เราจะติดตั้งจะเป็น Main Circuit Breaker (MCB) ที่จะถูกติดตั้งที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ในพื้นที่โรงจอดรถ ซึ่งจะนิยมใช้เป็นขนาด 40A ชนิด 2 Pole ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB มี 2 แบบที่นิยมใช้กันคือ Plug-on และ DIN-rail (รางปีกนก)

โดยการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถเลือกได้จากแบรนด์ชั้นนำ แบรนด์ชั้นนำ เช่น ABB, Schneider, Hager, CHINT, Doepke, Haco, NANO โดยการเลือกนั้นจะต้องคำนึงว่า เบรกเกอร์นั้นควรจะมาตรฐาน มอก. หรือ IEC รับรอง, ขนาดกำลังไฟของเบรกเกอร์เหมาะสมกับการใช้งาน

2.3 สายไฟที่ใช้เดินวงจรเมน

สายไฟที่ใช้ในการเดินระบบเมนต้องมีลักษณะคือใช้สายไฟที่ทำจากทองแดง (ขนาดสายไฟที่ต้องใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ใหม่ที่เราขอ เช่น หากขอเพิ่มจากมิเตอร์ 15(45) เป็น 30(100) เราจะใช้สายทองแดงขนาด 16 Sq.mm. ขึ้นไป ชนิด IEC01 THW หากเดินสายร้อยท่อ หรือในอากาศ แต่ถ้าเดินสายลงใต้ดินจะใช้สายประเภท NYY หรือ 0.6/1 kV CVFD) ตัวสายไฟจะต้องทำจากวัสดุไม่ลามไฟ และมีมาตรฐาน มอก.รองรับ โดยที่นิยมใช้งานในท้องตลาดจะเป็นยี่ห้อ Yazaki, Bangkok Cable, Phelps dodge เป็นต้น

2.4 หลักดิน

มาตรฐานหลักดินตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) แท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง (COPPER BONDED GROUND RODS) หรือแท่งทองแดง (solid copper) หรือแท่งเหล็กอาบสังกะสี (hot-dip galvanized steel) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว สำหรับแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง และ 0.625 นิ้ว หรือ 15.87 มม. สำหรับแท่งเหล็กอาบสังกะสี) ความยาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร

มาตรฐานสายต่อหลักดินตาม วสท. สายที่ต่อจากหลักดินมายังจุดต่อหลักดิน (ground bus) หรือต่อจากหลักดิน มายัง ground bus ในตู้ consumer unit ของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า พิกัด 7kW หรือ 32 A จะต้องมีขนาดของสาย 10 ตารางมิลลิเมตร หรือหากอ้างอิงตามคู่มือการติดตั้ง EV Charger ของ กกพ. จะต้องใช้สายขนาดเท่ากันกับสายเฟส หรือ 16 Sq.mm.

สายต่อหลักดินตามมาตรฐาน วสท. ต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน (Exothermic Welding) หูสาย หัวต่อแบบบีบอัด ประกับต่อสาย หรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามต่อโดยการใช้การบัดกรีเป็นหลัก อุปกรณ์ที่ใช้ต่อต้องเหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ทำหลักดิน และสายต่อหลักดิน ห้ามต่อสายต่อหลักดินมากกว่า 1 เส้นเข้ากับหลักดิน นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเป็นชนิดที่ออกแบบมาให้ต่อสายมากกว่า 1 เส้น

2.5 เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD หรือ RCCB)

เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device) มีไว้สำหรับตัดวงจร เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้ได้ ใครที่จะติดตั้ง EV Charger ที่บ้านควรมีไว้เพื่อความปลอดภัย และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD กันดูดเป็นชนิด Type B ซึ่งสามารถตัดไฟได้ทั้งกรณีการรั่วแบบกระแสตรงและกระแสสลับ แต่หากเครื่องชาร์จ EV สามารถตัดไฟกระแสตรงได้ในมาตรฐานการไฟฟ้า (6mA DC) อนุโลมให้ใช้ RCD กันดูด Type A ได้